แบบทดสอบบทที่2

โจทย์
เฉลยคำตอบข้อ 1 ได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว 2 รูป
รูปที่ 1 ฐานยาว 4 เซนติเมตร ด้านประกอบมุมยอดยาวด้านละ 3 เซนติเมตร
รูปที่ 2 ฐานยาว 2 เซนติเมตร ด้านประกอบมุมยอดยาวด้านละ 4 เซนติเมตร

รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็นจำนวนเต็ม
และมีความยาวรอบรูปเท่ากับ 10 เซนติเมตร
มีได้ทั้งหมดกี่รูป

วิธีทำ

สามเหลี่ยมใด ๆ

( ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 ) > ความยาวด้านที่ 3

คุณสมบัตินี้เป็นจริงเสมอ
ไม่ว่าจะให้ด้านใดเป็นด้านที่ 1 ด้านที่ 2 หรือด้านที่ 3

จากภาพสามเหลี่ยมนี้

a + b > c

a + c > b

b + c > a

แนวคิดในการนับรูปสามเหลี่ยม

ชื่อสามเหลี่ยมเกิดจากการนำจุด 3 จุดมาเรียงกัน เริ่มจากจุดใดก็ได้
สามเหลี่ยมรูปเดียวสามารถวางจุด 3 จุดได้มากกว่า 1 แบบ
แบบที่ 1

เริ่มจากจุด A วนไปในทิศตามเข็มนาฬิกา

เรียกสามเหลี่ยมรูปนี้ว่า สามเหลี่ยม ABC

ความยาวรอบรูป = 3 + 4 + 3 = 10 เซนติเมตร



แบบที่ 2

เริ่มจากจุด C วนไปในทิศตามเข็มนาฬิกา

เรียกสามเหลี่ยมรูปนี้ว่า สามเหลี่ยม CAB

ความยาวรอบรูป = 3 + 3 + 4 = 10 เซนติเมตร



แบบที่ 3

เริ่มจากจุด B วนไปในทิศตามเข็มนาฬิกา

เรียกสามเหลี่ยมรูปนี้ว่า สามเหลี่ยม BCA

ความยาวรอบรูป = 4 + 3 + 3 = 10 เซนติเมตร


สามเหลี่ยมหน้าจั่วมีฐานยาว 4 เซนติเมตร ด้านประกอบมุมยอดยาวด้านละ 3 เซนติเมตร
สามารถเขียนผลบวกของเส้นรอบรูป ได้ 3 แบบ
3 + 4 + 3 = 10 แบบที่ 1
3 + 3 + 4 = 10 แบบที่ 2
4 + 3 + 3 = 10 แบบที่ 3
ทั้ง 3 แบบเป็นสามเหลี่ยมรูปเดียวกัน

รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็นจำนวนเต็ม และมีความยาวรอบรูปเท่ากับ 10 เซนติเมตร

นำ 10 เซนติเมตรมาแบ่งเป็นเลข 2 จำนวนที่ได้ผลบวกเป็น 10
โดยจำนวนที่ 1 มีค่ามากกว่าจำนวนที่ 2 แบ่งได้กี่วิธี ?

6 + 4 = 10 วิธีที่ 1
7 + 3 = 10 วิธีที่ 2
8 + 2 = 10 วิธีที่ 3
9 + 1 = 10 วิธีที่ 4
จำนวนที่ 1 คือ ผลบวกของความยาวด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2
จำนวนที่ 2 คือ ความยาวของด้านที่ 3


วิธีที่ 1 : 6 + 4 = 10
6 + 4 = 10 หมายถึง ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 6 เซนติเมตร
ความยาวด้านที่ 3 = 4 เซนติเมตร

ถ้า ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 6 แล้ว ด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ยาวเท่าใด ?

3 + 3 + 4 = 10
2 + 4 + 4 = 10
1 + 5 + 4 = 10


1 + 5 + 4 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม เพราะ
ด้านที่ 1 ยาว 1 เซนติเมตร
ด้านที่ 2 ยาว 5 เซนติเมตร
ด้านที่ 3 ยาว 4 เซนติเมตร

แม้ว่า ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 2) > ด้านที่ 3
1 + 5 > 4

แต่ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
1 + 4 = 5
( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) = ด้านที่ 2

วิธีที่ 1 ได้สามเหลี่ยม 2 รูปที่มีเส้นรอบรูป 10 ซม. ได้แก่ (3 + 3 + 4) และ (2 + 4 + 4)

(3 + 3 + 4) คือสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีฐานยาว 4 ซม. ด้านประกอบมุมยอดยาวด้านละ 3 ซม.
(2 + 4 + 4) คือสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีฐานยาว 2 ซม. ด้านประกอบมุมยอดยาวด้านละ 4 ซม.


วิธีที่ 2 : 7 + 3 = 10
7 + 3 = 10 หมายถึง ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 7 เซนติเมตร
ความยาวด้านที่ 3 = 3 เซนติเมตร

ถ้า ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 7 แล้ว ด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ยาวเท่าใด ?

3 + 4 + 3 = 10
2 + 5 + 3 = 10
1 + 6 + 3 = 10

(3 + 4 + 3) คือสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีฐานยาว 4 ซม. ด้านประกอบมุมยอดยาว 3 ซม. ซึ่งนับแล้วในวิธีที่ 1

2 + 5 + 3 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
2 + 3 = 5

1 + 6 + 3 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
1 + 3 < 6

วิธีที่ 2 ไม่ได้สามเหลี่ยม


วิธีที่ 3 : 8 + 2 = 10
8 + 2 = 10 หมายถึง ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 8 เซนติเมตร
ความยาวด้านที่ 3 = 2 เซนติเมตร

ถ้า ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 8 แล้ว ด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ยาวเท่าใด ?

4 + 4 + 2 = 10
3 + 5 + 2 = 10
2 + 6 + 2 = 10
1 + 7 + 2 = 10

(4 + 4 + 2) คือสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีฐานยาว 2 ซม. ด้านประกอบมุมยอดยาว 4 ซม. ซึ่งนับแล้วในวิธีที่ 1

3 + 5 + 2 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
3 + 2 = 5

2 + 6 + 2 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
2 + 2 < 6

1 + 7 + 2 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
1 + 2 < 7

วิธีที่ 3 ไม่ได้สามเหลี่ยม


วิธีที่ 4 : 9 + 1 = 10
9 + 1 = 10 หมายถึง ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 9 เซนติเมตร
ความยาวด้านที่ 3 = 1 เซนติเมตร

ถ้า ความยาวด้านที่ 1 + ความยาวด้านที่ 2 = 9 แล้ว ด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ยาวเท่าใด ?

5 + 4 + 1 = 10
3 + 6 + 1 = 10
2 + 7 + 1 = 10
1 + 8 + 1 = 10

5 + 4 + 1 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 2 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 1
4 + 1 = 5

3 + 6 + 1 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
3 + 1 < 6

2 + 7 + 1 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
2 + 1 < 7

1 + 8 + 1 = 10 ไม่เกิดรูปสามเหลี่ยม
เพราะ ( ด้านที่ 1 + ด้านที่ 3) ไม่มากกว่า ด้านที่ 2
1 + 1 < 8

วิธีที่ 4 ไม่ได้สามเหลี่ยม


เฉลยคำตอบข้อ 2


มุมที่ใหญ่ที่สุด = 100 องศา

โจทย์

อัตราส่วนมุมภายใน 3 มุมของสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง เป็น 1 : 3 : 5

มุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสามเหลี่ยมรูปนี้มีขนาดกี่องศา


วิธีทำ


ผลบวกมุมภายใน 3 มุมของสามเหลี่ยมใด ๆ เท่ากับ 180°


อัตราส่วนมุมภายใน 3 มุมของสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง เป็น 1 : 3 : 5

ผลบวกของอัตราส่วน = 1 + 3 + 5 = 9 ส่วน

ผลบวกมุมภายใน 3 มุมของสามเหลี่ยมใด ๆ เท่ากับ 180°

นำ 180° มาแบ่งเป็น 9 ส่วน

แต่ละส่วน = 180° ÷ 9 = 20°

อัตราส่วนมุมภายในของสามเหลี่ยม = 1 : 3 : 5

มุมที่ใหญ่ที่สุดคือมุมที่มี 5 ส่วน แต่ละส่วนเท่ากับ 20°

ดังนั้น มุมที่ใหญ่ที่สุด = 5 x 20° = 100°     


เฉลยคำตอบข้อ 3


มุมยอดกาง 30 องศา

โจทย์

สามเหลี่ยมหน้าจั่วรูปหนึ่ง

อัตราส่วนของมุมยอดต่อมุมที่ฐาน คือ 2 : 5

มุมยอดของสามเหลี่ยมหน้าจั่วรูปนี้กางกี่องศา

วิธีทำ

สามเหลี่ยมหน้าจั่วมีมุมที่ฐานเท่ากัน
อัตราส่วนของ มุมยอด : มุมที่ฐาน : มุมที่ฐาน = 2 : 5 : 5

ผลบวกของอัตราส่วน = 2 + 5 + 5 = 12 ส่วน

ผลบวกมุมภายใน 3 มุมของสามเหลี่ยมเท่ากับ 180°

นำ 180° มาแบ่งเป็น 12 ส่วน

แต่ละส่วน = 180° ÷ 12 = 15°

อัตราส่วนของ มุมยอด : มุมที่ฐาน : มุมที่ฐาน = 2 : 5 : 5

มุมยอดมี 2 ส่วน แต่ละส่วนเท่ากับ 15°

ดังนั้น มุมยอด = 2 x 15°

= 30°


เฉลยคำตอบข้อ 4


มุม EAC = 60°

โจทย์



เส้นตรง DC แบ่งครึ่งมุม ACE
เส้นตรง DB ตั้งฉากกับเส้นตรง AC ที่จุด B
มุม BDC = 40°
มุม AEC = 20°
มุม EAC = กี่องศา

วิธีทำ


 

มุม BCD + มุม DBC + มุม BDC = 180° .................( 1 )ผลบวกมุมภายในของ ΔDBC
มุม DBC = 90° ...................( 2 )โจทย์กำหนดให้
มุม BDC = 40° ...................( 3 )โจทย์กำหนดให้
มุม BCD + 90° + 40° = 180° .................( 4 )แทน (2) และ (3) ลงใน (1)
มุม BCD + 130° = 180° .................( 5 )แทน (2) และ (3) ลงใน (1)
มุม BCD = 180° - 130° ......( 6 )
มุม BCD = 50° ....................( 7 )
มุม DCE = มุม BCD ............( 8 )เส้นตรง DC แบ่งครึ่งมุม ACE
มุม DCE = 50° ....................( 9 )แทน (7) ลงใน (8)
มุม ACE = 50°+50°.............( 10 )
มุม ACE = 100°...................( 11 )
มุม AEC = 20°....................( 12 )โจทย์กำหนดให้
มุม EAC + มุม ACE + มุม AEC = 180° .................( 13 )ผลบวกมุมภายในของ ΔACE
มุม EAC + 100° + 20° = 180° .................( 14 )แทน (11) และ (12) ลงใน (13)
มุม EAC + 120° = 180° .................( 15 )
มุม EAC = 180° - 120° .....( 16 )
มุม EAC = 60°
  

เฉลยคำตอบข้อ 5 มุม CAB = 60°

โจทย์



เส้นตรง DA และ EA แบ่งมุม CAB ออกเป็น 3 ส่วนเท่ากัน
มุม DRB = 80°
มุม ESB = 60°
มุม CAB = กี่องศา

วิธีทำ

 


มุม ARS + มุม DRS = 180° ......................( 1 )ผลบวกเป็นมุมตรง
มุม DRS = 80° ........................( 2 )โจทย์กำหนดให้
มุม ARS + 80° = 180° .......................( 3 )แทน (2) ลงใน (1)
มุม ARS = 180° - 80° .............( 4 )
มุม ARS = 100° .......................( 5 )
มุม ESB = 60° .........................( 6 )โจทย์กำหนดให้
มุม ASR = มุม ESB ..................( 7 )มุมตรงข้าม
มุม ASR = 60° .........................( 8 )แทน (6) ลงใน (7)
มุม RAS + มุม ARS + มุม ASR = 180° ......................( 9 )ผลบวกมุมภายใน ΔARS
มุม RAS + 100° + 60° = 180° ......................( 10 )แทน (5) และ (8) ลงใน (9)
มุม RAS + 160° = 180° .......................( 11 )
มุม RAS = 180° - 160° ............( 12 )
มุม RAS = 20° .........................( 13 )
มุม CAB = 3 เท่าของมุม RAS ...( 14 )เส้นตรง DA และ EA
แบ่งมุม CAB
ออกเป็น 3 ส่วนเท่ากัน
มุม CAB = 3 x 20° ...................( 15 )แทน (13) ลง (14)
มุม CAB = 60°
   

เฉลยคำตอบข้อ 6 1,980 องศา

โจทย์

รูป 3 เหลี่ยม
มุมภายในทั้ง 3 มุมรวมกันเท่ากับ 180 องศา

รูป 13 เหลี่ยม
มุมภายในทั้ง 13 มุมรวมกันเท่ากับกี่องศา

วิธีทำ


คำนวณผลบวกของมุมภายในของรูป 13 เหลี่ยม โดยใช้สูตร

ผลบวกมุมภายในของรูป n เหลี่ยม = (n - 2) x 180°

....คลิกที่นี่เพื่อดูที่มาของสูตร....

แทนค่าในสูตร เมื่อ n = 13

รูป 13 เหลี่ยม มุมภายในทั้ง 13 มุมรวมกัน = (13 - 2) x 180°
= 11 x 180°
= 1,980°
เฉลยคำตอบข้อ 7 x + y + z = 360 องศา

โจทย์



จากรูป x + y + z = กี่องศา




วิธีทำ

 


ให้ a, b และ c เป็นมุมภายในของสามเหลี่ยม

x + a = 180° ............................( 1 ) ผลบวกมุมเป็นมุมตรง
y + b = 180° ............................( 2 ) ผลบวกมุมเป็นมุมตรง
z + c = 180° ............................( 3 ) ผลบวกมุมเป็นมุมตรง
x + a + y + b + z + c = 180° + 180° + 180° .....( 4 ) (1) + (2) + (3)
(x + y + z) + (a + b + c) = 180° + 180° + 180° .....( 5 ) จัดกลุ่ม
a + b + c = 180° ............................( 6 ) ผลบวกมุมภายในของสามเหลี่ยม
(x + y + z) +180° = 180° + 180° + 180° .....( 7 ) แทน (6) ลงใน (5)
x + y + z = 180° + 180° .................( 8 ) ลบด้วย 180° ทั้ง 2 ข้าง
x + y + z = 360°
เฉลยคำตอบข้อ 8 มุม MCN = 90°

โจทย์



จากรูป มุม MCN = กี่องศา



วิธีทำ

 



MB = 2 ...................( 1 )โจทย์กำหนดให้
BC = 2 ...................( 2 )โจทย์กำหนดให้
MBC เป็น Δ หน้าจั่ว .......................( 3 )ด้านประกอบมุมยอดเท่ากัน
มุม BMC = มุม BCM .......( 4 )มุมที่ฐานของ Δ หน้าจั่ว
มุม MBC = 90° ................( 5 )โจทย์กำหนดให้
มุม BCM + มุม BMC + มุม MBC = 180° .............( 6 )ผลบวกมุมภายใน ΔBMC
มุม BCM + มุม BMC + 90° = 180° ..............( 7 )แทน (5) ลงใน (6)
มุม BCM + มุม BMC = 180° - 90° .....( 8 )
มุม BCM + มุม BMC = 90° ................( 9 )
มุม BCM = 90° ÷ 2 .........( 10 )มุม BCM = มุม BMC
มุม BCM = 45° ................( 11 )
ΔNDC เป็น Δ หน้าจั่ว มุมยอด 90° ...( 12 )
มุม DCN = 45° ................( 13 )มุมที่ฐานของ Δ หน้าจั่ว NDC
ซึ่งมีมุมยอด 90°
มุม BCM + มุม MCN + มุม DCN = 180° .............( 14 )ผลบวกเป็นมุมตรง
45° + มุม MCN + 45° = 180° .............( 15 )แทน (11) และ (13) ลงใน (14)
มุม MCN + 90° = 180° .............( 16 )
มุม MCN = 180° - 90° ....( 17 )
มุม MCN = 90°
เฉลยคำตอบข้อ 9 พื้นที่สีดำ 77 ตร.ซม.


โจทย์



วงกลมใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 14 ซม.

รูปครึ่งวงกลมเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 7 ซม.

ส่วนที่เป็นสีดำมีพื้นที่กี่ตารางเซนติเมตร



วิธีทำ


O เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมใหญ่

สร้างวงกลมเล็ก 2 วงสัมผัสกัน

โดยจุดศูนย์กลางอยู่บนเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมใหญ่

วงกลมเล็กแต่ละวงมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร


ลบเส้นรอบวงของวงกลมเล็กออกตามเส้นประ

รูปวงกลมเล็กจะกลายเป็นรูปครึ่งวงกลม


เนื่องจากพื้นที่ส่วนบนและส่วนล่างของวงกลมใหญ่

เกิดจากวงกลมเล็ก 2 วงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน

พื้นที่ 2 ส่วนนี้จึงมีขนาดเท่ากัน


พื้นที่สีดำ = พื้นที่สีขาว

ดังนั้น พื้นที่สีดำ = ครึ่งหนึ่งของพื้นที่วงกลมใหญ่

พื้นที่วงกลมใหญ่ = r2
พื้นที่ครึ่งวงกลมใหญ่ =
เศษ 1 ส่วน 2( ) r2
=
เศษ 1 ส่วน 2( ) (7)(7)
= 77 ตารางเซนติเมตร

พื้นที่สีดำ = พื้นที่ครึ่งวงกลม = 77 ตารางเซนติเมตร


เฉลยคำตอบข้อ 10 พื้นที่สีแดง 8 ตร.ซม.


โจทย์



สี่เหลี่ยมผืนผ้า 3 รูปวางติดกันดังรูป

สี่เหลี่ยมผืนผ้าแต่ละรูปกว้าง 2 ซม. ยาว 4 ซม.

พื้นที่สีแดงอยู่ระหว่างวงกลมรัศมี 4 ซม. 2 วง

บริเวณสีแดงมีพื้นที่กี่ตร.ซม.


วิธีทำ


ACFH เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 4 ซม.

เส้นโค้งสีเขียวคือวงกลมที่จุดศุนย์กลางอยู่ที่ A

BDEG เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 4 ซม.

เส้นโค้งสีแดงคือวงกลมที่จุดศุนย์กลางอยู่ที่ B


วงกลมสีเขียวมีรัศมี 4 เซนติเมตร
เนื่องจาก HAC เป็นมุมฉาก
พื้นที่สีเขียว =
เศษ 1 ส่วน 4ของพื้นที่วงกลม
=
เศษ 1 ส่วน 4( ) r 2
=
เศษ 1 ส่วน 4( ) ( 4 ) ( 4 )
=
ตารางเซนติเมตร




พื้นที่สีเหลือง =
พื้นที่สี่เหลี่ยม BDEG - เศษ 1 ส่วน 4ของพื้นที่วงกลมที่มีรัศมี 4 เซนติเมตร
=
( ด้าน x ด้าน ) - เศษ 1 ส่วน 4( ) r 2
=
( 4 x 4 ) - เศษ 1 ส่วน 4( ) ( 4 ) ( 4 )
=
16 - ตารางเซนติเมตร
=
- ตารางเซนติเมตร
=
ตารางเซนติเมตร




พื้นที่สีแดง = พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ADEH - พื้นที่สีเขียว - พื้นที่สีเหลือง
=
( 4 x 6 ) - เศษ 88 ส่วน 7- เศษ 24 ส่วน 7 ตารางเซนติเมตร
=
24 - เศษ 88 ส่วน 7- เศษ 24 ส่วน 7 ตารางเซนติเมตร
=
เศษ 168 ส่วน 7
- เศษ 88 ส่วน 7- เศษ 24 ส่วน 7 ตารางเซนติเมตร
=
ตารางเซนติเมตร
= 8 ตารางเซนติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น